ระบบบริหารงานคุณภาพ ISO9001 กับงานด้านอุตุนิยมวิทยาการบิน

1. เนื้อหา
            
             1.1 บทนำ

ISO9001 เป็นมาตรฐานของระบบบริหารคุณภาพที่สามารถนำมาใช้ได้กับทุกองค์กร ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจการผลิต บริการ หรือแม้แต่หน่วยงานราชการ และไม่จำกัดขนาดขององค์กร   ปัจจุบันเป็นที่ยอมรับกันว่าการนำมาตรฐาน    ISO9001 มาใช้ในการบริหารงานระบบคุณภาพและธุรกิจในองค์กร และขอการรับรองความสอดคล้องกับมาตรฐานนี้ เป็นเรื่องที่จำเป็นและเป็นปัจจัยพื้นฐานอย่างหนึ่งในการดำเนินธุรกิจในโลกใบนี้และเพิ่มความ สามารถในการแข่งขันที่นับวันจะสูงขึ้นเรื่อยๆ
ISO ทำให้หน่วยงานมีความน่าเชื่อถือ ในส่วนของกรมอุตุนิยมวิทยา เมื่อนำระบบ ISO มาใช้ช่วยให้ประชาชนมีความเชื่อมั่นในการนำข้อมูลอุตุนิยมวิทยาไปใช้ สร้างความน่าเชื่อถือของข่าวพยากรณ์อากาศ
ISO9001:2008 ISO

  • ISO (International Organization for Standardization)  เป็นองค์กรระหว่างประเทศว่าด้วยมาตรฐานมีประเทศสมาชิกจัดเป็นกลุ่มสมาชิก “9001” ว่าด้วยระบบจัดการคุณภาพ “2008” เป็นเวอร์ชั่นปีที่มีการปรับปรุงข้อกำหนด มีการปรับปรุงทุก 5 ปี (2008 เป็นเวอร์ชั่นปัจจุบัน)
  • มีการระบุข้อกำหนดไว้เพื่อให้ดำเนินการตาม เพื่อขอใบรับรองคุณภาพ
  • ถ้าอยากให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ควรนำ 9004 มาใช้ด้วย

ISO ไม่ได้รับรองผลิตภัณฑ์หรือบริการ แต่รับรองกระบวนการทำงาน เพื่อให้ได้บริการ / คุณภาพที่ดี และห้ามนำตราบริษัทที่ประเมิน (หลังจากผ่านการประเมินแล้ว) ไปติดที่ผลิตภัณฑ์
ISO มีความหมายเท่ากับ QMS หรือระบบการจัดการคุณภาพ เป็นการรวม QC (Quality Control) การควบคุมคุณภาพ เข้ากับ QA (Quality Assurance) การประกันคุณภาพ โดยมีหน่วยงานภายนอกเข้ามาเกี่ยวข้องในการประเมิน
ISO ได้พิจารณาถึง หลักการบริหารคุณภาพ 8 ประการ (The 8 quality management principles) ดังนี้

  • ความต้องการของผู้รับบริการ – เพื่อทำให้ผู้รับบริการเกิดความเชื่อมั่นในสินค้าหรือบริการ
  • ความเป็นผู้นำ – หัวหน้าหน่วยงานต้องสร้างแรงจูงใจเพื่อนำไปสู่การดำเนินงานในหน่วยงาน
  • บุคลากรมีส่วนร่วม – มีความร่วมมือร่วมใจ อาศัยทุกคนในหน่วยงานทุกระดับมาร่วมกันทำงาน
  • มุ้งเน้นกระบวนการ – ไม่ได้ให้ความสำคัญกับเรื่องใดเรื่องหนึ่ง


                   กิจกรรมใดๆ หรือกลุ่มกิจกรรมใดๆ จะมีการใช้ทรัพยากรและมีการจัดการเพื่อทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ปัจจัยป้อนเข้า (input) ให้กลายเป็นผลผลิต (output) กิจกรรมดังกล่าวจะเรียกว่าเป็น กระบวนการ (process) บ่อยครั้งที่ผลผลิตของกระบวนการหนึ่งจะกลายเป็น ปัจจัยป้อนเข้าให้อีกกระบวนการหนึ่งที่อยู่ถัดไป

  • การบริหารงานอย่างเป็นระบบ – เป็นการอธิบายความสัมพันธ์ของกระบวนการ เป็นการสร้าง flow chart เชื่อมโยงความสัมพันธ์ของแต่ละกระบวนการเพื่อสร้างเป็นระบบ
  • การปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง – มีการประชุม เพื่อหาแนวทางการแก้ไขปัญหา


          หลักการที่เรียกว่า “วงจร PDCA” หรือ Plan-Do-Check-Action สามารุประยุกต์ใช้ได้กับทุกกระบวนการ ความหมายโดยสังเขปเป็นดังนี้
Plan : ทำการกำหนดหรือระบุชี้วัตถุประสงค์และกระบวนการ ที่จำเป็นต่อการส่งมอบผลิตภัณฑ์/บริการที่สอดคล้องกับข้อกำหนดของลูกค้าและนโยบายขององค์กรเอง
Do : นำกระบวนการที่กำหนดชัดเจนแล้วไปปฏิบัติให้เกิดผล
Check : ติดตามตรวจและวัดกระบวนการและผลิตภัณฑ์โดยเปรียบเทียบกับนโยบาย วัตถุประสงค์ของผลิตภัณฑ์
Action : การปฏิบัติการต่างๆ เพื่อปรับปรุงผลการดำเนินงานของกระบวนการให้ดีขึ้นอยู่เสมอ

  • การตัดสินใจบนพื้นฐานความเป็นจริง – มีข้อมูลที่ถูกต้องประกอบการตัดสินใจ ทำให้มีข้อมูลที่แท้จริงมาหาแนวทางปฏิบัติงานที่ดี
  • ความสัมพันธ์ระหว่างผู้ขายเพื่อให้เกิดผลประโยชน์ – ร่วมกันสร้างสรรค์สิ่งที่มีคุณค่าต่อลูกค้า

    1.2 ระบบบริหารคุณภาพ : ข้อกำหนด ISO9001:2008

ระบบบริหารงานคุณภาพ ISO9001:2008 มีข้อกำหนด 8 ข้อ ดังนี้
1. ขอบข่าย
                1.1 ทั่วไป – เพื่อสอดคล้องกับข้อกำหนดของลูกค้า สร้างความพึงพอใจให้แก่ลูกค้า โดยการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง
                1.2 การประยุกต์ใช้ – ทุกองค์กรละเว้นบางข้อกำหนดได้ (ข้อ 7 เท่านั้น)
2. เอกสารอ้างอิง – ให้ใช้ฉบับล่าสุด
3. นิยามและคำจำกัดความ ใช้ตาม ISO9000 โดยให้คำนิยมว่า “ผลิตภัณฑ์ = บริการ”
4. ระบบบริหารคุณภาพ (Plan, กระบวนการสนับสนุน)    
     4.1 ข้อกำหนดโดยทั่วไป
           - จัดเป็นเอกสาร
           - กำหนดกระบวนการ
           - ความสัมพันธ์ของกระบวนการ
           - หลักเกณฑ์ (QP,WI)
           - ควบคุม Outsource
     4.2 การจัดทำเอกสาร
           4.2.1 ทั่วไป
                   - นโยบายคุณภาพ
                  - วัตถุประสงค์คุณภาพ
                  - คู่มือคุณภาพ
                  - ขั้นตอนการดำเนินการ
                  - บันทึก
                  - เอกสารสนับสนุน
                  - เอกสารอยู่ในรูปแบบ/สื่อต่างๆ ได้
           4.2.2 คู่มือคุณภาพ
                   - ขอบข่าย เหตุผลการยกเว้นข้อกำหนด
                  - เอกสารขั้นตอนที่ได้จัดทำขึ้น
                  - ความสัมพันธ์ของกระบวนการ
           4.2.3 การควบคุมเอกสาร
                  - มีการควบคุม (อนุมัติ/ทบทวน/สถานะปัจจุบัน/เอกสารที่เกี่ยวข้องมีใช้ อ่านได้ง่าย/เอกสารภายนอกชี้บ่ง และควบคุมการแจกจ่ายชี้บ่งยกเลิก)
           4.2.4 การควบคุมบันทึก
                  - ควบคุม (ชี้บ่ง/จัดเก็บ/นำกลับมาใช้/เก็บรักษา/ทำลาย)
                  - อ่านออก
5 ความรับผิดชอบของฝ่ายบริหาร (Plan, กระบวนการสนับสนุน)
     5.1 ความมุ่งมั่นของฝ่ายบริหาร
                   - การสื่อสาร
                  - นโยบายคุณภาพ
                  - วัตถุประสงค์คุณภาพ
                  - การทบทวนโดยฝ่ายบริหาร
                  - ความพร้อมด้านทรัพยากร
     5.2 มุ่งเน้นที่ลูกค้า
     5.3 นโยบายคุณภาพ
                  - จุดมุ่งหมายขององค์กร
                  - ครอบคลุมข้อกำหนดต่างๆ
                  - แนวทางวัตถุประสงค์คุณภาพ
                  - ถูกสื่อสาร
                  - ทบทวน
     5.4 การวางแผน
                  5.4.1 วัตถุประสงค์คุณภาพ - สามารถวัดได้ สอดคล้องกับนโยบาย
                  5.4.2 การวางแผน – จัดทำ Action Plan
     5.5 ความรับผิดชอบ อำนาจหน้าที่และการสื่อสาร
                  5.5.1 ความรับผิดชอบและอำนาจหน้าที่ – Job Description
                  5.5.2 ตัวแทนฝ่ายบริหาร
                           - ดูแลระบบบริหารคุณภาพ
                           - รายงานต่อผู้บริหารระดับสูง
                           - สร้างจิตสำนึก
                           - ประสานงานกับหน่วยงานภายนอกเกี่ยวกับระบบฯ
                  5.5.3 การสื่อสารภายใน - ประสิทธิผลของระบบ
     5.6 การทบทวนโดยฝ่ายบริหาร
                  5.6.1 ทั่วไป
                          1) แผนการทบทวน
                              - เหมาะสม
                              - ปรับปรุง
                              - เปลี่ยน
                              - นโยบายคุณภาพ/วัตถุประสงค์คุณภาพ
                          2) ผลการทบทวน
                  5.6.2 ข้อมูลในการทบทวน
                           - ผลการตรวจประเมิน
                           - feedback
                           - สมรรถนะกระบวนการ
                           - สถานะ CAR/PAR
                           - Management Review ครั้งก่อน
                           - การเปลี่ยนแปลที่มีผล
                           - ข้อเสนอแนะในการปรับปรุง
                  5.6.3 ผลของการทบทวน
                           - ปรับปรุงกระบวนการ
                           - ปรับปรุงผลิตภัณฑ์
                           - จัดหาทรัพยากร
6 การบริหารทรัพยากร (Plan, กระบวนการสนับสนุน)
     6.1 การจัดสรรทรัพยากร
                - ปรับปรุงระบบให้ได้ตามข้อกำหนด
     6.2 ทรัพยากรบุคคล
                6.2.1 ทั่วไป
                         - คุณสมบัติ (การศึกษา , การฝึกอบรม , ทักษะ , ประสบการณ์)
                6.2.2 ความสามารถ การฝึกอบรม ความตระหนัก (การประเมินสมรรถนะบุคลากร Competency Assessment)
                         - กำหนดความสามารถ
                         - จัดฝึกอบรม
                         - ประเมินประสิทธิผลการดำเนินการ
                         - ตระหนัก
     6.3 สาธารณูปโภค
                - อาคาร สถานที่ สิ่งอำนวยความสะดวก
                - อุปกรณ์ (ฮาร์ดแวร์ , ซอฟต์แวร์)
                - บริการสนับสนุน (ขนส่ง สื่อสาร สารสนเทศ)
     6.4 สภาวะแวดล้อมในการทำงาน (5 ส) เสียง อุณหภูมิ ความชื้น แสง สภาพอากาศ ปัจจัยอื่นๆ
7 การทำให้ผลิตภัณฑ์เป็นจริง (Do, กระบวนการหลัก)
     7.1 การวางแผนเพื่อให้ผลิตภัณฑ์เป็นจริง
           - จัดทำกระบวนการและเอกสาร
           - เฝ้าติดตาม/วัด/ตรวจสอบ
           - หลักฐานของกระบวนการ
     7.2 กระบวนการที่เกี่ยวข้องกับลูกค้า
           7.2.1 การกำหนดข้อกำหนดผลิตภัณฑ์
                    - ข้อกำหนดจากลูกค้า
                    - ลูกค้าไม่ได้ระบะแต่จำเป็น
                    - กฎระเบียบ
                    - องค์กรกำหนด
           7.2.2 การทบทวนข้อกำหนดผลิตภัณฑ์
                    - ยอมรับสัญญา
                    - องค์กรมีความสามารถพอ
                    - ผลการทบทวน
           7.2.3 การสื่อสารกับลูกค้า
                    - ข้อมูลผลิตภัณฑ์
                    - ข้อเสนอ/คำสั่งซื้อ
                    - feedback
     7.3 การออกแบบและพัฒนา (ไม่ต้องทำก็ได้ ไม่ได้มีผลกระทบต่อระบบ QMS)
           7.3.1 การวางแผน
           7.3.2 ข้อมูลที่ใช้
           7.3.3 ผลการออกแบบ
           7.3.4 การทบทวนการออกแบบ
           7.3.5 การทวนสอบการออกแบบ
           7.3.6 การยืนยันผลการออกแบบ
           7.3.7 การควบคุมการเปลี่ยนแปลง
     7.4 การจัดซื้อ
           7.4.1 กระบวนการจัดซื้อ
                    -จัดซื้อตามข้อกำหนด
                    - เกณฑ์การคัดเลือก คัดเลือกผู้ส่งมอบ
                    - เกณฑ์การประเมิน ประเมินผู้ส่งมอบ
           7.4.2 ข้อมูลการซื้อ
                    - สเปค/ราคา
                    - คุณสัมบัติ Outsource
                    - ผลิตภัณฑ์ที่สั่งซื้อตรงตามกำหนด?
     7.5 กระบวนการผลิตและการให้บริการ
           7.5.1 การควบคุม
                    - วิธีการทำงาน
                    - เครื่องมือ
                    - ตรวจปล่อย
           7.5.2 การยืนยัน
- ตัวอย่างคุณสมบัติของบุคลากร
           7.5.3 การชี้บ่งและสอบกลับ
                    - รุ่น/สเปค
                    - ผ่าน/ไม่ผ่าน
                    - ผลิตวันไหน
           7.5.4 ทรัพย์สินของลูกค้า
                    - ชี้บ่ง
                    - ทวนสอบ
                    - ป้องกัน
                    - สูญหาย/ถูกทำลาย รายงานลูกค้าทราบ
           7.5.5 การถนอม
                    - เคลื่อนย้าย
                    - บรรจุ
                    - จัดเก็บ
     7.6 การควบคุมอุปกรณ์วัดและการเฝ้าติดตาม
                    - สอบเทียบ/ทวนสอบ
                    - ปรับแต่งตามจำเป็น
                    - ป้องกันการปรับแต่ง
                    - ป้องกันความเสียหาย
8 การวัด วิเคราะห์ ปรับปรุง (Check, Action กระบวนการสนับสนุน)
    8.1 ทั่วไป – เฝ้าติดตาม ตรวจวัด วิเคราะห์ ปรับปรุง
    8.2 เฝ้าติดตามและวัดผล
           8.2.1 ความพึงพอใจของลูกค้า
                    - ความพึงพอใจ
                    - ข้อร้องเรียน
                    - ข้อเสนอแนะ
           8.2.2 การเฝ้าติดตามภายใน
                    - แผน Internal Audit
           8.2.3 เฝ้าติดตามและวัดผลกระบวนการ
                    - ติดตามแนวโน้มตาม KPI
           8.2.4 เฝ้าติดตามและวัดผลิตภัณฑ์
                    - ทวนสอบข้อกำหนดตามเอกสาร 7.4
                    - อำนาจการปล่อยและส่งมอบ
     8.3 การควบคุมผลิตภัณฑ์ที่ไม่เป็นไปตามข้อกำหนด
           - ชี้บ่ง ป้องกันการนำไปใช้
           - จัดการ (กำจัด / ยอมรับภายใต้การอนุโลม / ประยุกต์ใช้)
     8.4 การวิเคราะห์ข้อมูล
           - ความพึงพอใจของลูกค้า
           - ข้อกำหนด vs ผลิตภัณฑ์
           - แนวโน้มกระบวนการ , ผลิตภัณฑ์
           - ผู้ส่งมอบ
     8.5 การปรับปรุง
           8.5.1 การปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง – ใช้ข้อกำหนด 5,8
           8.5.2 ปฏิบัติการแก้ไข – กำจัดต้นตอของปัญหา
           8.5.3 ปฏิบัติการป้องกัน – กำจัดสาเหตุที่น่าจะเป็นไปได้

             1.3 ลำดับการจัดเอกสาร
                   ลำดับการจัดเอกสารในระบบการจัดการคุณภาพจะเรียงลำดับจากบนลงล่าง คือ Quality manual (คู่มือคุณภาพ) , Quality management system procedures (ระเบียบปฏิบัติ) , Work instruction/Operations procedures (วิธีการทำงาน) และ Form and records (เอกสารสนับสนุน)


2. ข้อสรุป
- ศน.จะนำระบบบริหารงานคุณภาพ (Quality Management System : QMS) มาใช้ จะดำเนินการตั้งคณะกรรมการฯเพื่อวางแผนการดำเนินงานด้านการบริหารงานคุณภาพ โดยการดำเนินงานด้านการบริหารงานคุณภาพ (QMS) ของศน. จะเริ่มดำเนินการตามข้อกำหนดของระบบริหารงานคุณภาพ แต่ยังไม่ขอรับการประเมินเพื่อขอใบรับรองจากหน่วยงานภายนอก
- แนวทางการดำเนินงาน ให้หน่วยงานวิเคราะห์ Gap Analysis ตาม 8 ข้อกำหนดของระบบ ISO9001:2008 เพื่อวิเคราะห์ดูว่าหน่วยงานยังไม่ได้ดำเนินการหรือยังไม่มีกิจกรรมในข้อกำหนดใด ให้นำกิจกรรมที่ยังไม่ได้ดำเนินการ มาจัดทำเป็นแผนการดำเนินงานของหน่วยงาน
- แต่งตั้งคณะทำงานดังนี้
1) จัดตั้ง ISO Steering Team ตัวแทนจากส่วนงานต่างๆ
2) จัดตั้ง ISO Working Team ส่วนงานต่างๆ หรือรวม
3) แต่งตั้ง QMR
4) แต่งตั้งผู้ควบคุมเอกสาร (Document Controller) กลางและส่วน/ฝ่าย
- ออกแบบเอกสาร
- ประยุกต์ใช้ระบบ


3. ข้อเสนอแนะ
1) การนำระบบ ISO9001:2008 มาใช้ที่ศน. ควรเริ่มจากงาน ส่วนพยากรณ์อากาศ , ส่วนแผนที่และสารสนเทศ และงานบริหารทั่วไป เนื่องจากสำนักอุตุนิยมวิทยาการบินได้ผ่านการประเมินในระบบ ISO9001:2008 แล้ว และงานทั้ง 3 งานดังกล่าวได้นำเข้าสู่ระบบการประเมินแล้ว น่าจะเป็นต้นแบบให้ศน.ดำเนินการได้
2) ควรให้ผู้เชี่ยวชาญด้าน ISO9001:2008 มาให้ความรู้แก่บุคลากรที่ศน.เพื่อการดำเนินการด้าน ISO9001:2008 ดำเนินการได้ถูกต้องและมีประสิทธิภาพ เสนอให้เชิญ คุณเกวลี พุทธิยาวัฒน์ สำนักอุตุนิยมวิทยาการบิน ซึ่งเป็นคณะทำงานด้าน ISO9001:2008 ของกบ.

21 กุมภาพันธ์ 2555
พรนภา ทองเทพ นอต.ชก.
นิพจน์ วิชาจารย์ พอต.ชง.