คลื่นยักษ์(Tsunami) เป็นคำในภาษาญี่ปุ่น ประกอบด้วคำ 2 คำ "tsu" แปลว่า ท่าเรือ "nami" แปลว่าคลื่นรวมตัวกันแปลว่า คลื่นท่าเรือ หรือ habour wave




คลื่นยักษ์เกิดจากหลายสาเหตุ ได้แก่ แผ่นดินไหว แผ่นดินถล่ม ภูเขาไฟระเบิด ที่พื้นมหาสมุทร หรืออุกกาบาตตกในมหาสมุทร คลื่นยักษ์ขนาดใหญ่ มักเกิดจากการเคลื่อนตัวในแนวดิ่ง ของรอยเลื่อนใต้ผืนมหาสมุทรในระหว่างการเกิดแผ่นดินไหว

มาตราการป้องกันภัยจากคลื่นสึนามิ
1. เมื่อรู้ว่ามีแผ่นดินไหวเกิดขึ้น ขณะที่อยู่ในทะเลหรือบริเวณชายฝั่ง ให้รีบออกจากบริเวณชายฝั่งไปยังบริเวณที่สูงหรือที่ดอนทันที โดยไม่ต้องรอประกาศจากทางราชการ เนื่องจากคลื่นสึนามีเคลื่นที่ด้วยความเร็วสูง
2. เมื่อได้รับฟังประกาศจากทางราชการเกี่ยวกับการเกิดแผ่นดินไหวบริเวณทะเลอันดามัน ให้เตรียมรับสถานะการณ์ที่อาจจะเกิดคลื่นสึนามิตามมาได้ โดยด่วน
3. สังเกตปรากฏการณ์ของชายฝั่ง หากทะเลมีการลดของระดับน้ำลงมาก หลังการเกิดแผ่นดินไหวให้สันนิษฐานว่าอาจเกิดคลื่นสึนามิตามมาได้ ให้อพยพ คนในครอบครัว สัตว์เลี้ยง ให้อยู่ห่างจากชายฝั่งมากๆและอยู่ในที่ดอนหรือน้ำท่วมไม่ถึง
4. ถ้าอยู่ในเรือซึ่งจอดอยู่ในท่าเรือหรืออ่าวให้รีบนำเรือออกไปกลางทะเล เมื่อทราบว่าจะเกิดคลื่นสึนามิพัดเข้าหา เพราะคลื่นสึนามิที่อยู่ไกลชายฝั่งมากๆ จะมีขนาดเล็ก
5. คลื่นสึนามิอาจเกิดขึ้นได้หลายระลอกจากการเกิดแผ่นดินไหวครั้งเดียว เนื่องจากมีการแกว่งไปมาของน้ำทะเล ดังนั้นควรรอสักระยะหนึ่งจึงสามารถลงไปชาดหาดได้
6. ติดตามการเสนอข่าวของทางราชการอย่างใกล้ชิดและต่อเนื่อง
7. หากที่พักอาศัยอยู่ใกล้ชายหาด ควรจัดทำเขื่อน กำแพง ปลูกต้นไม้ วางวัสดุ ลดแรงปะทะของน้ำทะเล และก่อสร้างที่พักอาศัยให้มั่นคงแข็งแรง ในบริเวณย่านที่มีความเสี่ยงภัยในเรื่องคลื่นสึนามิ
8. หลีกเลี่ยงการก่อสร้างใกล้ชายฝั่งในย่านที่มีความเสี่ยงสูง
9. วางแผนในการฝึกซ้อมรับภัยจากคลื่นสึนามิ เช่น กำหนดสถานที่ในการอพยพแหล่งสะสมน้ำสะอาด เป็นต้น
10. จัดผังเมืองให้เหมาะสม บริเวณแหล่งที่อาศัยควรมีระยะห่างจากชายฝั่ง
11. ประชาสัมพันธ์ และให้ความรู้ประชาชน ในเรื่องการป้องกันและบรรเทาภัยจากคลื่นสึนามิ และแผ่นดินไหว
12. วางแผนล่วงหน้า หากเกิดสถานการณ์ขึ้นจริง ในเรื่องการประสานงานระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง กำหนดขั้นตอนในด้านการช่วยเหลือบรรเทาภัยด้านสาธารณสุข การรื้อถอน และฟื้นฟูสิ่งก่อสร้าง เป็นต้น
13. อย่าลงไปในชายหาดเพื่อดูคลื่นสึนามิ เพราะเมื่อเห็นคลื่นแล้วก็ใกล้เกินกว่าจะหลบหนีทัน
14. คลื่นสึนามิ ในบริเวณหนึ่งอาจมีขนาดเล็ก แต่อีกบริเวณหนึ่งอาจมีขนาดใหญ่ ดังนั้นเมื่อได้ยินข่าวการเกิดคลื่นสึนามิ ขนาดเล็กในสถานที่หนึ่ง จงอย่าประมาทให้เตรียมพร้อมรับสถานการณ์

คำถาม-ตอบ : เกี่ยวกับคลื่นยักษ์สึนามิ



ถาม : คลิ่นยักษ์(Tsunami) มีลักษณ์เด่นอย่างไร
คลื่นยักษ์มีลักษณะคล้ายกับคลื่นทั่วๆไป ในมหาสมุทรเคลื่อนที่ไปในมหาสมุทรด้วยความเร็ว ระหว่าง 500-800 กม./ชม. อีกทั้งยังสามารถเคลื่อนที่ไปในทะเลลึก โดยที่ผู้ที่อยู่ผิวน้ำ ไม่รู้ตัวเลย ที่เป็นเช่นนี้เพราะความสูงของคลื่นที่ปรากฏที่ผิวน้ำมักมีขนาดเล็กว่า 1 เมตร ในขณะที่ระยะห่างระหว่างยอดคลื่นอยู่ที่ ระหว่าง 100-700 กม. เมื่อคลื่นยักษ์เดินทางเข้าสู่บริเวณชายฝั่ง คลื่นยักษ์ก็จะดึงน้ำขึ้นไป ซึ่งอาจสูงถึง 30 เมตร เหนือระดับน้ำทะเล เมื่อเข้าถึงชายฝั่ง จึงเห็นเป็นกำแพงน้ำทะเลที่มีการไหลรุนแรง เป็นอย่างยิ่ง พร้อมทั้งพัดพาเอาทุกสิ่งทุกอย่างไปกับคลื่นที่ไหลบ่าอย่างบ้าคลั่ง

ถาม : แผ่นดินไหวทำให้เกิดคลื่นยักษ์ได้อย่างไร
คลื่นย์ยักษ์(Tsunami) ที่มีพลังในการทำลายล้างสูง ส่วนใหญ่เกิดจากแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ที่มีศูนย์กลางอยู่ในระดับตื้น และอยู่ในมหาสมุทร มักเกิดตามบริเวณขอบของแผ่นเปลือกโลกที่มีการมุดตัวของแผ่นพื้นมหาสมุทรใต้แผ่นพื้นทวีป เมื่อเกิดแผ่นดินไหว อันเป็นผลจากการเคลื่อนตัวอย่างกะทันหันในแนวดิ่ง ของแผ่นเปลือกโลก ดังกล่าว เป็นบริเวณกว้าง จึงทำให้น้ำในมหาสมุทร เกิดการกระเพื่อมอย่างรุนแรง เกิดเป็นคลื่นยักษ์ขึ้น

ถาม : ภูเขาไฟระเบิดทำให้เกิดคลื่นยักษ์ได้อย่างไร
การระเบิดของภูเขาไฟอย่างรุนแรงที่พื้นมหาสมุทร มีการแทนที่น้ำเป็นปริมาตรมหาศาลอย่างทันทีทันใด ทำให้เกิดคลื่นยักษ์ที่เกิดขึ้น มีความรุนแรงมาก

ถาม : คลื่นยักษ์ที่เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 26 ธ.ค. 2547 เกิดขึ้นได้อย่างไร



เช้าวันที่ 26 ธันวาคม 2547 เวลา 07.58.50 น. ตามเวลาท้องถิ่น เกิดจากแผ่นดินไหวขนาด 9.0 ริคเตอร์ ในทะเลนอกฝั่งตะวันตกทางตอนเหนือของเกาะสุมาตรา ประเทศอินโดนีเซีย ที่ระดับความลึกประมาณ 10 กม. ทำให้มี after shocks เกิดขึ้นหลายสิบครั้ง เป็นระยะทางกว่า 1,200-1,300 กม. ขนานไปตามแนว Sunda Trench



ซึ่งเป็นแนวการมุดตัวของแผ่นมหาสมุทรอินเดียลงใต้ แผ่นยูเรเซีย ในทิศเหนือถึงตะวันออกเฉียงเหนือ ทำมุมกับพื้นระนาบประมาณ 10 องศา ในบริเวณ Sunda Trench และทำมุมมากขึ้นในที่ลึกลงไป ปริมาณพลังงานที่ปลดปล่อยจากแผ่นดินไหวครั้งนี้ เทียบได้กับพลังงานทั้งหมด ที่ถูกใช้ในประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นเวลากว่า 1 เดือน ณ ที่ศูนย์กลางแผ่นดินไหว คาดว่ามีการเลื่อนย้อนของแผ่นเปลือกโลกไปตามแนวรอยเลื่อนเป็นระยะทางประมาณ 20 กม. ส่งผลให้พื้นมหาสมุทร ที่ปิดทับอยู่บนรอยเลื่อน ต้นกำเนิดแผ่นดินไหว ที่มีการเคลื่อนที่ไปประมาณ 10 กม.ในทิศตะวันตกเฉียงใต้ เกิดการยกตัวสูงขึ้นในแนวดิ่งของพื้นมหาสมุทร ในบริเวณดังกล่าว ประมาณ 2-3 กม. เป็นต้นกำเนิกของคลื่นยักษ์ที่เดินทางไปใน มหาสมุทรอย่างรวดเร็ว เข้าปะทะกับชายฝั่งมหาสมุทรอินเดีย และทะเลอันดามัน ทางตะวันตกของประเทศไทย ได้แก่จังหวัดระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ ตรัง และสตูล



ถาม : เคยมีคลื่นยักษ์เกิดขึ้นในบริเวณนี้บ้างไหม
เท่าที่มีการบันทึกมา คลื่นยักษ์ที่เกิดในบริเวณเกาะสุมาตรา พอจะสรุปได้ทั้งหมด 5 ครั้ง คือ
1. ในปี พ.ศ. 2340 เกิดที่เมือง Padang มีคนตายกว่า 300 คน
2. ในปี พ.ศ. 2376 เกิดแผ่นดินไหวที่ชายฝั่งด้านใต้ของเกาะสุมาตรา มีคลื่นขนาดใหญ่เข้าท่วมตอนใต้ ของเกาะสุมาตรา มีผู้เสียชีวิตหลายคน
3. ในปี พ.ศ. 2386 เกิดแผ่นดินไหว บริเวณตะวันตกทางตอนกลางของเกาะสุมาตรา มีคลื่นยักษ์เข้าไปทางตะวันออกเฉียงใต้ เข้าท่วมบริเวณชายฝั่งของเกาะ Nas Island ทำให้มีผู้เสียชีวิตไปมากมาย
4. ในปี พ.ศ. 2404 ที่ฝั่งตะวันตกของเกาะสุมามตราทั้งหมด มีผู้เสียชีวิตนับพันคน และสุดท้าย
5. ในปี พ.ศ. 2426 ภูเขาไฟกรากะตัว ระเบิด ส่งผลให้มีคลื่นยักษ์ มีการเสียชีวิตไปกว่า 3,600 คน จากเหตุการณ์ครั้งนั้นเป็นเวลาร้อยกว่าปี ก่อนถึงการเกิดคลื่นยักษ์ครั้งล่าสุดนับเป็นธรณีพิบัติภัยครั้งร้ายแรงยิ่ง

ถาม : สัญญานเตือนการเกิดคลื่นยักษ์สังเกตอย่างไร



ดังนั้นเมื่อท่านไปเที่ยวชายทะเล หากเกิดแผ่นดินไหว แล้วมีการลดลงระดับน้ำทะเลอย่างรวดเร็ว ให้หนีไปที่สูงลึกเข้าไปในแผ่นดินให้เร็วที่สุดอย่าลืมที่จะร้องเตือนผู้ที่พักผ่อนอยู่ตามชายหาดให้ออกวิ่งด้วย ทุกชีวิตมีค่า

เอกสารอ้างอิง : ข้อมูลโดยกองธรณีวิทยา กรมทรัพยากรธรณี กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

โทรศัพท์และโทรสาร 022023838 http://www.dmr.go.th