การติดตามสภาพน้ำและการเตือนภัย โดยอาศัยข้อมูลความสัมพันธ์ของระดับน้ำระหว่างสถานีเหนือน้ำคือ N.64 บ้านผาขวาง อ.เมือง จ.น่าน และสถานีท้ายน้ำคือ N.1 ที่สะพานพัฒนาภาคเหนือในตัวเมืองน่าน ระยะทางห่างกันตามลำน้ำประมาณ 42 กิโลเมตร
การเตือนภัยโดยอาศัยการวิเคราะห์ข้อมูลความสัมพันธ์ระดับน้ำ
เมื่อระดับน้ำ ณ สถานี N.64 บ้านผาขวาง อ.เมือง จ.น่าน ห่างจากตัวเมืองน่านประมาณ 42 กม. ขึ้นสูงถึง 9.50 เมตร มีปริมาณน้ำไหลผ่าน 1,060 ลบ.เมตร/วินาที จะมีผลทำให้ระดับน้ำที่ สถานี N.1 ในเขตเทศบาลเมืองน่านที่สะพานพัฒนาภาคเหนือสูงตามขึ้นไปที่ระดับ 7.00 เมตร(ระดับเต็มตลิ่ง) ปริมาณน้ำไหลผ่าน 1,300 ลบ.เมตร/วินาที ในเวลา 6-7 ชั่วโมง ถัดมา
หากระดับน้ำของทั้งสองสถานียังเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ จะทำให้เกิดน้ำล้นตลิ่งขึ้นท่วมในบริเวณที่ลุ่มต่ำของตัวเมืองน่านและแผ่ออกไปเป็นบริเวณกว้างตามลำดับ ดังนั้นหลังระดับน้ำที่ สถานี N.64 ขึ้นสูงสุดแล้ว คาดการณ์ได้ว่าอีก 6-7 ชั่วโมง ก็จะเกิดน้ำสูงสุดที่ สถานี N.1 ทำให้สามารถระบุพื้นที่น้ำท่วมพอสังเขปและสามารถเตือนภัยในพื้นที่ดังกล่าวได้
เตือนภัยน้ำท่วม เชียงใหม่ / ลำพูน / แพร่ / น่าน  
ช่วงเวลาและสาเหตุ ของการเกิดอุทกภัย
โดยทั่วไป อุทกภัยในภาคเหนือทั้งน้ำป่าไหลหลากและน้ำล้นตลิ่ง จะมีโอกาสเกิดขึ้นได้ในช่วงฤดูฝน ตั้งแต่เดือนพฤษภาคมถึงเดือนกันยายน เมื่อเกิดฝนตกหนักติดต่อกันเนื่องจากอิทธิพลของลมมรสุม พายุหมุนเขตร้อน และร่องความกดอากาศต่ำที่พาดผ่านภูมิภาคนี้ในช่วงเวลาดังกล่าว

แม่น้ำน่นาเป็นแม่น้ำสานหลัก ที่ไหลผ่านตัวเมืองน่าน มีต้นกำเนิดอยู่ที่ดอยภูแวในเขตพื้นที่ อ.เฉลิมพระเกียรติ อ.ดอยสะเก็ด จ.เชียงใหม่ ความยาวลำน้ำจากต้นกำเนิดถึงตัวเมือง 205 กม. พื้นที่รับน้ำเหนือตัวเมือง 4,609 ตร.กม.ลำน้ำสาขาที่สำคัญคือห้วยน้ำยาว จาก อ.สองแคว ไหลมารวมกับแม่น้ำน่านทางทิศใต้ของ อ.ท่าวังผา และน้ำยาวจาก อ.สันติสุข

ปริมาณฝนที่ตกในพื้นที่ 6 อำเภอตอนบนต้นแม่น้ำน่าน คือ อ.เฉลิมพระเกียรติ อ.ทุ่งช้าง อ.เชียงกลาง อ.สองแคว ปัว และ อ.ท่าวังผา นับเป็นสาเหตุเบื้องต้นของการเกิดน้ำท่วมในตัวเมืองน่าน การพยากรร์และการเตือนภัยจึงต้องอาศัยการวิเคราะห์ข้อมูลน้ำฝนในพื้นที่ดังกล่าวมาประกอบ
จากสถิติที่ผ่านมา เมื่อฝนเฉลี่ยของพื้นที่ 6 อำเภอต้นน้ำสูงถึง 75 มม. ใน 1 วัน หลังจากนั้นประมาณ 12 ชั่วโมง จะมีผลให้เกิดน้ำหลากในแม่น้ำน่านวัดระดับได้ที่ 9.50 เมตร ที่สถานี N.64 ใกล้ อ.ท่าวังผา ซึ่งระดับน้ำนี้จะส่งผลให้ระดับน้ำที่ สถานี N.1 ในตัวเมืองขึ้นถึงระดับวิกฤติที่น้ำเต็มฝั่งในอีก 6-7 ชั่วโมงต่อมา